แผ่นใยสังเคราะห์ จีโอเท็กซ์ไทล์ Geotextile

แผ่นใยสังเคราะห์ ชนิดไม่ถักทอ (Non-Woven Geotextile)

แผ่นใยสังเคราะห์ ชนิดไม่ถักทอ ผลิตจากโพลิเมอร์สังเคราะห์ที่มีคุณสมบัติดีกว่าเส้นใยธรรมชาติ โดยจะเป็นการประสานเส้นใยสังเคราะห์ด้วยพันธะระหว่างเส้นใยด้วยกรรมวิธีต่างๆ เช่น การใช้ความร้อน (Thermal Bonding) การใช้กรรมวิธีทางเคมีหรือตัวทำละลาย (Chemical Bonding) และที่นิยมที่สุดคือกรรมวิธีเชิงกล (Mechanical Bonding) ด้วยการใช้ระบบเข็มตี (Needle Punching Process) เนื่องจากกรรมวิธีนี้ เส้นใยในแผ่นใยสังเคราะห์จะมีการขัดสานกันอย่างไม่เป็นระเบียบ ทำให้แผ่นใยสังเคราะห์มีความคงรูปและแข็งแรงมากขึ้น ไม่ทิ้งตัว ไม่ยืดตัว

โพลิเมอร์สังเคราะห์ที่นิยมนำมาผลิตแผ่นใยสังเคราะห์ คือ โพลิเอสเตอร์ (Polyester) และ โพลิโพรพิลีน (Polypropylene) เนื่องจากเป็นโพลิเมอร์ที่มีค่าความต้านทานความร้อนและค่าความต้านทานการกัดกร่อนสูง

แผ่นใยสังเคราะห์ ชนิดไม่ถักทอ มีลักษณะคล้ายผ้าสักหลาด มีความสามารถในการรับแรงอัด แรงดึง และแรงเฉือนได้ไม่มากนักเมื่อเทียบกับแผ่นใยสังเคราะห์ ชนิดถักทอ ประโยชน์หลักของแผ่นใยชนิดนี้คือ การแยก การกรอง และการระบายน้ำ เหมาะสำหรับงาน Hardscape ที่ต้องการแยกชั้นดินหินทราย ต้องการการกรองหรือการระบายน้ำที่ดี และควบคุมการกัดเซาะของชั้นดิน โดยคุณสมบัติการซึมผ่านของแผ่นใยสังเคราะห์จะอ้างอิงตามน้ำหนักของเส้นใย

การใช้งาน

  1. แยกชั้นหิน ดิน ทราย (Separation)
  2. กรองแยกชั้น (Filtration)
  3. ระบายน้ำ (Drainage)
  4. ป้องกันชั้นดิน หรือหน้าดิน (Protection)
  5. ควบคุมการกัดเซาะชั้นดิน (Erosion Control)

ประโยชน์

  1. ใช้ทำหน้าเป็นการแยกชั้น กรอง และเสริมกำลังวัสดุ
  2. ขอบผ้าอยู่ทรงไม่เปลี่ยนรูป
  3. น้ำสามารถซึมผ่านได้
  4. ทนความร้อนและแสงแดด
  5. ทนความชื้น เชื้อรา สารเคมี

ประเภทการใช้งาน

แผ่นใยสังเคราะห์ ( Geotextile ) เป็นนวัตกรรมใหม่ที่ถูกคิดค้นและผลิตเพื่อทดแทน และมีราคาถูกกว่าวิธีการเสริมดินแบบสลักยึดหิน (Soil-nail) ซึ่งสามารถเพิ่มความสวยงาม และยังสามารถใช้ประโยชน์ในการปลูกพืช ณ ปัจจุบัน แผ่นใยสังเคราะห์ จึงนิยมใช้ในโครงการหลากหลายดังต่อไปนี้

  1. งานถนน เช่น ถมดิน หรือกันแนวดิน ที่มีผิวทางและไม่มีผิวทาง หรือชั้นดินเพิ่มเสถียรภาพ (Platform)
  2. งานถมพื้นที่หนองน้ำเดิมเพื่อนำกลับมาใช้ใหม่
  3. งานชลประทาน เช่น อ่างเก็บน้ำ, คลอง, ถมดิน, ชายฝั่งทะเล, กำแพงกันดิน หรือเขื่อนดิน
  4. งานชายฝั่งทะเล คุมการกัดเซาะ
  5. งานลานกองเก็บวัสดุหรือวางตู้สินค้า
  6. งานทางรถไฟ งานระบบระบายน้ำข้างทางหรือใต้ชั้นทาง รวมถึงงานรางรถไฟ
  7. งานสนามบิน
  8. งานก่อสร้างจัดสวนบนหลังคาและงานภูมิสถาปัตย์
  9. งานรองพื้นปูHDPE เพื่อป้องกันการฉีกขาด
  10. สนามกอล์ฟ

Non-Woven Geotextile มีขนาดน้ำหนักให้เลือกดังต่อไปนี้

  1. ขนาดน้ำหนัก 100g/ sqm. (100 กรัมต่อตารางเมตร)
  2. ขนาดน้ำหนัก 120g/ sqm. (120 กรัมต่อตารางเมตร)
  3. ขนาดน้ำหนัก 150g/ sqm. (150 กรัมต่อตารางเมตร)
  4. ขนาดน้ำหนัก 200g/ sqm. (200 กรัมต่อตารางเมตร)
  5. ขนาดน้ำหนัก 250g/ sqm. (250 กรัมต่อตารางเมตร)
  6. ขนาดน้ำหนัก 300g/ sqm. (300 กรัมต่อตารางเมตร)
  7. ขนาดน้ำหนัก 350g/ sqm. (350 กรัมต่อตารางเมตร)
  8. ขนาดน้ำหนัก 400g/ sqm. (400 กรัมต่อตารางเมตร)

* แผ่นใยสังเคราะห์ ขนาดม้วน 2x100 และ 4x100 เมตร

Visitors: 108,769